วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

-> การวิเคราะห์กราฟทางเทคนิค

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเทคนิคการวิเคราะห์ทางเทคนิคคือการคาดการณ์ของราคาในอนาคตของตราสารทางการเงินโดยการตรวจสอบการเคลื่อนไหวของราคาในอดีตและปริมาณข้อมูล ในความเป็นจริงแล้ววิธีนี้เป็นแค่การศึกษาอุปสงค์และอุปทานในตลาด
ยินดีต้อนรับเข้าสู่สังคมการเทรด Forex

 บทนำ

สวัสดีครับ ขอต้อนรับเข้าสู่การเทรดโดยช้ การวิเคราะห์ทางเทคนิค ซึ่งแตกต่างจากการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานที่มุ่งเน้นกับมูลค่าที่แท้จริงของตราสารทางการเงิน การวิเคราะห์ทางเทคนิคจะมุ่งเน้นไปที่การเคลื่อนไหวของราคา ในคอร์สนี้เราจะพยายามที่จะเข้าใจถึงอารมณ์การเข้าถึงตลาดโดยการมองไปที่ตลาด ไม่ใช่ที่ส่วนองค์ประกอบของมัน

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเทคนิค

การวิเคราะห์ทางเทคนิคคือการคาดการณ์ของราคาในอนาคตของตราสารทางการเงินโดยการตรวจสอบการเคลื่อนไหวของราคาในอดีตและปริมาณข้อมูล ในความเป็นจริงแล้ววิธีนี้เป็นแค่การศึกษาอุปสงค์และอุปทานในตลาดเพื่อที่จะกำหนดทิศทางที่ของตลาดในอนาคต
ประโยชน์อย่างหนึ่งของการวิเคราะห์ทางเทคนิคคือว่าการวิเคราะห์นี้สามารถใช้กับตราสารทางการเงินเกือบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น หุ้น ฟิวเจอร์ส หรือ Forex
แนวคิดพื้นฐาน
http://lenhune.blogspot.com/2013/08/blog-post.html
ถึงแม้ว่าความคิดที่อยู่เบื้องหลังการวิเคราะห์ทางเทคนิคมีอยู่มานานหลายศตวรรษแล้ว แต่เป็นเพราะ ผลงานการเขียนของ ชาร์ลส์ ดาวน์ (Charles Dow) ในตอนท้ายของศตวรรษที่ 19ที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับการวิเคราะห์ทางเทคนิคในสมัยใหม่  สามแนวคิดพื้นฐานที่จะได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีของเขา:
  1. ราคา คือบทสรุปของทุกอย่าง (Price Discounts Everything)การ วิเคราะห์ทางเทคนิคสันนิษฐานว่า ในเวลาใดก็ตาม ราคาของตราสารทางการเงินสะท้อนให้เห็นถึงความรู้และข้อมูลต่างๆของผู้ที่ เข้าร่วมเทรดในตลาดทั้งหมด รวมถึงนักเทรด นักลงทุน นักวิเคราะห์และผู้จัดการพอร์ตโฟลิโอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันนี้  อินเทอร์เน็ตและการเพิ่มความเร็วในการเทรด เมื่อข้อมูลต่างๆเผยแพร่ออกมา มีจะทำให้มีผลรวดเร็วต่อราคาของตราสารทางการเงิน
  2. การเคลื่อนไหวของราคาเป็นไปตามแนวโน้ม (Price Moves in Trends)การวิเคราะห์ทางเทคนิค ราคาจะเคลื่อนไหวไปตามแนวโน้ม  ในช่วงที่แนวโน้มกำลังเกิดขึ้น ราคาในอนาคตมักจะเป็นไปตามทิศทางเดียวกันกับแนวโน้มมากกว่าที่จะต่อต้าน แนวโน้มมี 3 ประเภท : ขาขึ้น (Bullish) ขาลง (Downwards) และไซด์เวย์ (Sideways)
  3. ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเดิม(History Tends to Repeat Itself)ทฤษฎีนี้เป็นรากฐานที่สำคัญของการวิเคราะห์ทางเทคนิค เมื่อพูดถึงการเคลื่อนไหวของราคาแล้ว ประวัติศาสตร์มักจะซ้ำรอย ตามหลักจิตวิทยาในเรื่องของธรรมชาติของตลาดแล้ว จะเป็นไปได้ว่าการคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาในอนาคตนั้นได้มาจากข้อมูลหรือสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันในอดีต   

    การกำหนดแนวโน้ม (trend)

    แนวโน้ม(trend) มีความสำคัญมากในการวิเคราะห์ทางเทคนิค แนวโน้ม คือ การติดตามทิศทางทั่วไปของราคาตราสารทางการเงิน

    ความหมายอย่างเป็นทางการของ แนวโน้ม

    เมื่อ แนวโน้มปรากฏขึ้นไม่ชัดเจนนัก เราจะต้องมีระบุรายละเอียดเพิ่มขึ้น ราคาจะไม่เคลื่อนที่เป็นเส้นตรง แต่ไม่เคลื่อนที่สูงขึ้น และจะล่วงต่ำลง
    ความหมายของแต่ละแนวโน้ม มีดังต่อไปนี้: 
    ขาขึ้น (Bullish)  เป็นรูปแบบของกราฟที่ทำจุดสูงสุดใหม่ สูงขึ้นเรื่อยๆ (higher highs) และ กราฟทำจุดต่ำสุดสูงขึ้นเรื่อยๆ(higher lows)http://lenhune.blogspot.com/2013/08/blog-post.html
    (รูปที่ 3.1)จากรูปด้านบน จุดที่ 2 และ 4 เป็นจุดที่สูงขึ้น ในขณะที่ จุด 3 และ 5 เป็นจุดที่ต่ำลงรูปด้านล่างเป็นตัวอย่างของ แนวโน้มขาขึ้นของ EURUSD โปรดสังเกตว่าเส้นแนวนอนหมายถึงจุดที่สูงของราคาhttp://lenhune.blogspot.com/2013/08/blog-post.html
    (รูปที่ 3.2) 
    ขาลง (Bearish) เป็นรูปแบบของกราฟทื่ทำจุดสูงสุดใหม่ต่ำลงเรื่อยๆ (lower highs)และ กราฟทำจุดต่ำสุดใหม่ ต่ำลงเรื่อยๆ (Lower lows)http://lenhune.blogspot.com/2013/08/blog-post.html
    (รูปที่ 3.3)จากรูปด้านบน จุดที่ 2 และ 4 เป็นจุดที่ต่ำลง ในขณะที่จุด 3 และ 5 เป็นจุดที่สูงขึ้นจากรูปด้านล่างเป็นตัวอย่างของแนวโน้มขาลงของ EURUSD โปรดสังเกตว่าเส้นแนวนอนหมายถึงจุดที่ต่ำของราคาhttp://lenhune.blogspot.com/2013/08/blog-post.html
    (รูปที่ 3.4) 
    ไซด์เวย์ (Sideways) เป็น กราฟที่ไม่มีความต่อเนื่องของกราฟที่ทำจุดสูงสุดใหม่ สูงขึ้นเรื่อยๆ (higher highs) หรือ กราฟทำจุดต่ำสุดสูงขึ้นเรื่อยๆ(higher lows)

“แนวโน้ม คือ เพี่อนของคุณ” (A Trend is Your Friend)

“แนว โน้ม คือ เพี่อนของคุณ” เป็นคำกล่าวที่ใช้ในกลุ่มนักเทรด เมื่อคุณสังเกตเห็นว่าราคาเริ่มเคลื่อนที่ไปในทิศทางหนึ่ง คุณสามารถเทรดในทิศทางตามแนวโน้ม และจะสามารถทำกำไรได้ตราบที่แนวโน้มยังคงอยู่ นักเทรดประเภทนี้ เรียกว่า นักเทรดตามแนวโน้ม (Trend Traders)
ในรูปที่3.1 และ 3.3 หมายถึง การสั่งค่ำสั่ง ซื้อ และ ขายจาก จุดที่ 1จนถึง จุดที่ 6ตามลำดับ
นัก เทรดบางคนเทรดตรงกันข้าม  โดยมองหาจุดเบรคเล็กๆของแนวโน้ม ถ้าเป็นแนวโน้มขาขึ้นนักเทรดหาจุดเบรคและสั่งคำสั่งขายในระยะสั้น นักเทรดประเภทนี้ เรียกว่า นักเทรดต้านแนวโน้ม(Counter Trend Traders)
ในรูปที่ 3.1 และ3.3 หมายถึงการเทรดต้านแนวโน้ม ที่จุดที่2ถึง3 และ4ถึง5

เส้นแนวโน้ม (Trendlines)

นอก เหนือจาก จุดสูงและจุดต่ำแล้ว คุณยังสามารถลาก เส้นแนวโน้ม เพื่อแสดงแนวโน้มของกราฟ เมื่อคุณวาดเส้นแนวโน้ม คุณจะลากเส้นต่อเนื่องของจุดสูง หรือต่ำ
ด้านล่างเป็นตัวอย่างของ เส้นแนวโน้ม ขาขึ้น
http://lenhune.blogspot.com/2013/08/blog-post.html
และนี่เป็นตัวอย่างของ เส้นแนวโน้มขาลงhttp://lenhune.blogspot.com/2013/08/blog-post.html

ระดับของแนวรับ และ แนวต้าน (Support and Resistance Level)

ในบทเรียนก่อนหน้า คุณจะเห็นเส้นแนวนอนแสดงถึงจุดสูงสุด และต่ำสุด ซึ่งเส้นนี้แสดงเป็นระดับของแนวรับและแนวต้าน:
  • ระดับของแนวต้าน จะอยู่เหนือราคาปัจจุบัน โดยทั่วไปแล้วจะหมายความว่า ตลาดมีความยากลำบากที่จะเคลื่อนที่เหนือราคาช่วงนี้ ผลลัพธ์ก็คือ ราคาจะตกลงในระยะสั้น
  • ระดับของแนวรับ จะอยู่ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน โดยทั่วไปแล้วจะหมายความว่าตลาดมีความยากลำบากที่จะเคลื่อนที่ต่ำกว่าราคาช่วงนี้ ผลลัพธ์ก็คือ ราคาจะสูงขึ้นในระยะสั้น
    ดังนั้น ระดับของแนวรับ แนวต้านจะช่วยให้คุณเห็นจุดพลิกผันว่าจะเกิดขึ้นตอนไหน และจะเป็นประโยชน์ให้คุณสามารถทำกำไรได้

    หมายเหตุ: เมื่อระดับผ่านทะลุระดับแนวต้าน แล้วมันจะกลายเป็นระดับของแนวรับแทน และในทำนองเดียวกัน เมื่อระดับผ่านทะลุระกับแนวรับ แล้วมันจะกลายเป็นระดับแนวต้านแทน
ระบุระดับแนวรับและแนวต้าน
กราฟช่วยให้นักเทรดระบุระดับของแนวรับและแนวต้านได้ง่ายขึ้น แต่ยังต้องใช้ทักษะบางอย่างเพื่อหาความน่าจะเป็นไปได้ของจุดที่ราคาจะกลับตัว นี้เป็นปัจจัยที่มีผลต่อระดับแนวรับ แนวต้าน:
  • จำนวนครั้งที่แตะวิธีที่ง่ายที่สุดที่ทำให้เราเห็นระดับของแนวรับ และแนวต้านคือ นับจำนวนครั้งที่ราคาแตะเส้นและกลับตัวที่ราคาระดับนั้นๆ ถ้าจำนวนการแตะและการกลับตัวมากครั้ง จะแสดงให้เห็นว่านักเทรดส่วนใหญ่กำลังจ้องมองที่จะหาโอกาสซื้อและขายที่ระดับเดียวกัน

  • การตอบสนองต่อระดับการที่เราสังเกตเห็นถึงการตอบสนองของราคาในระดับนั้นๆ อาจให้เบาะแสเกี่ยวกับแนวรับ แนวต้าน การพลิกผันของกราฟเมื่อตลาดแตะถึงราคานั้นๆ จะหมายความว่า ผู้ซื้อและผู้ขายให้ความสำคัญกับจุดๆนั้นเป็นพิเศษ
  • ปริมาณการซื้อขายที่ระดับหนึ่งการกระโดดของจำนวนการซื้อขายที่ถูกส่งคำสั่งทุกครั้งที่ตลาดถึงราคาหนึ่งๆบ่งบอกถึงความหนาแน่นที่เพิ่มขึ้นของผู้ซื้อและผู้ขายhttp://lenhune.blogspot.com/2013/08/blog-post.html
  • อายุของระดับระดับที่เกิดขึ้นใหม่มีค่ามากกว่าระดับที่เกิดขึ้นมาก่อน เนื่องจาก ตลาดมีความทรงจำที่สั้นและความเกี่ยวข้องของระดับราคาก็ค่อยซาลงไปตามเวลา

    รูปแบบกราฟ (Chart Patterns)

    รูปแบบกราฟมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการวิเคราะห์ทางเทคนิค การก่อตัวของราคามีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นซ้ำซึ่งนักเทรดสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
    รูปแบบมีทั้งหมด 2 ประเภท คือ
  • รูปแบบกราฟที่บอกถึงการเปลี่ยนทิศทางใหม่ (Reversal chart) ส่งสัญญาณว่าแนวโน้มดั้งเดิมจะมีการเปลี่ยนทิศทางเมื่อการสร้างราคาเสร็จสิ้นลง ตัวอย่างของรูปแบบการเปลี่ยนทิศทางใหม่ ได้แก่
  • รูปแบบหัวกับไหล่(Head and Shoulders) / รูปแบบหัวกับไหล่แบบกลับด้าน (Inverse Head and Shoulders)
  • รูปแบบสองหัวที่จุดยอด (Double Top) /รูปแบบสองหัวที่จุดต่ำ (Double Bottom)
  • รูปแบบกราฟที่บอกถึงทิศทางต่อเนื่อง (Continuation chart)
    ส่งสัญญาณว่าแนวโน้มดั้งเดิมยังคงดำเนินต่อเนื่องเมื่อการสร้างราคาเสร็จสิ้นลง 

    ตัวอย่างของรูปแบบทิศทางต่อเนื่อง ได้แก่
  • รูป แบบสามเหลี่ยมที่สมดุล (Symmetrical Triangle) / รูปแบบสามเหลี่ยมขาขึ้น (Ascending Triangle) / รูปแบบสามเหลี่ยมขาลง (Descending Triangle)
รูปแบบธงสี่เหลี่ยม (Flags) และ รูปแบบธงสามเหลี่ยม (Pennants)




รูปแบบแท่งเทียน (Candlestick Patterns)

รูปแบบกราฟทำให้คุณเห็นลาดเลาว่าตลาดจะดำเนินไปในทิศทางใดด้วยการวิเคราะห์การก่อตัวของรูปแบบแท่งเทียน รูปแบบแท่งเทียนมีประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากสามารถให้ข้อมูลที่มองเห็นได้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของราคา
ตัวอย่างเช่น แท่งเทียนที่ไม่มีหางหรือไส้เทียน เป็นสัญลักษณ์ของความมั่นใจของผู้ซื้อหรือผู้ขาย  แท่งเทียนนี้เรียกว่า marubozo ถ้าเป็นแท่งเทียนสภาวะกระทิงแบบไม่มีหาง หมายความว่า นักเทรดมีแรงซื้อเครื่องมือทางการเงินเข้ามาสูง

ในทางตรงกันข้าม ถ้าแท่งเทียนมีหางยาวแต่ไม่มีตัวเทียน เป็นสัญลักษณ์ของความไม่แน่ใจหรือความลังเล แท่งเทียนนี้เรียกว่า doji  ซึ่งมักจะตามมาด้วยการเปลี่ยนแปลงในทิศทางของราคา


ดัชนีชี้วัด (Indicators)

เหมือนกับด้านอื่นของการวิเคราะห์ทางเทคนิค ดัชนีชี้วัดใช้การคำนวณทางคณิตศาสตร์ด้วยข้อมูลทางด้านราคาและปริมาณเพื่อคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาในอนาคต ดัชนี้ชี้วัดเหล่านี้ถูกแสดงบนกราฟ
ดัชนี้ชี้วัดมี 2 ประเภท ได้แก่
  • ดัชนีชี้วัดนำ (Leading indicators) – โดยมากถูกเรียกว่า ดัชนีการแกว่งตัว (oscillators) ซึ่งส่งสัญญาณการซื้อขายก่อนที่แนวโน้มหรือการเปลี่ยนทิศทางจะเกิดขึ้น ใช้ได้ดีที่สุดกับตลาดไซด์เวย์ (sideways)
  • ดัชนีชี้วัดตาม (Lagging indicators) – โดยมากถูกเรียกว่าดัชนีตามเทรนด์หรือดัชนีโมเมนตัม  (trend-following or momentum indicators) ซึ่งส่งสัญญาณการซื้อขายหลังจากแนวโน้มได้เกิดขึ้นแล้ว ใช้ได้ดีที่สุดเมื่อแนวโน้มเริ่มเกิดขึ้นเพื่อเป็นการยืนยันการซื้อขายของคุณ

ตัวอย่างดัชนีชี้วัดนำ: ดัชนีกำลังสัมพัทธ์(Relative Strength Index)

ดัชนีชี้วัดนำที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายก็คือ ดัชนีกำลังสัมพัทธ์ (Relative Strength Index หรือ RSI) ในกราฟถูกพลอตตั้งแต่0 ถึง100  ตัวเลขที่เพิ่มขึ้น หมายถึง เครื่องมือทางการเงินเข้าข่ายซื้อมากเกินไป (overbought) และถึงเวลาขาย  ขณะที่จำตัวเลขที่ต่ำลง หมายถึง เครื่องมือทางการเงินเข้าข่ายขายมากเกินไป (oversold) และถึงเวลาซื้อ
http://lenhune.blogspot.com/2013/08/blog-post.html
นักวิเคราะห์ทางเทคนิคหาเขตการแยกออกจากกัน (divergence) ระหว่างดัชนีกำลังสัมพัทธ์และราคาจริง สมมติว่าดัชนีกำลังสัมพัทธ์เคลื่อนสูงขึ้นในขณะที่เครื่องมือทางด้านราคาเคลื่อนต่ำลง สำหรับนักเทรดหมายถึงแรงขายกำลังจะหมดไปและการกลับตัวจะเกิดขึ้นเร็วๆนี้

ตัวอย่างดัชนีชี้วัดตาม: เส้นค่าเฉลี่ย (Moving Averages)

ดัชนีชี้วัดตามซึ่งเป็นที่นิยมที่สุดก็คือ  เส้นค่าเฉลี่ย (Moving Averages) ตัวชี้วัดประเภทนี้ใช้ค่าเฉลี่ยของราคาปิดของรอบระยะเวลาที่ถูกกำหนดเพื่อให้เห็นการเคลื่อนที่ของราคาของเครื่องมือทางการเงิน มีตัวแปรมากมายที่ใช้ในเส้นค่าเฉลี่ย โดยใช้แนวทางเดียวกัน
http://lenhune.blogspot.com/2013/08/blog-post.html
ถ้าใช้ร่วมกับเส้นค่าเฉลี่ยอีกเส้นหนึ่ง ตัวชี้วัดนี้จะมีประโยชน์ในการระบุแนวโน้มต่างๆ
ตัวอย่างเช่น คุณสามารถกำหนดเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวอย่าง 100 วัน กับเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นกว่าอย่าง 50 วัน 
  • เมื่อเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น ตัดขึ้นเหนือเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว จะเป็นจุดที่เกิดสัญญาณของตลาดกระทิง และสัญญาณซื้อ (Buy)
  • เมื่อเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น ตัดลงต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว จะเป็นจุดที่เกิดสัญญาณและสัญญาณขาย (Sell)http://lenhune.blogspot.com/2013/08/blog-post.html

บทสรุป

ในที่สุดเราก็มาถึงตอนจบของบทเรียน ตลอดบทเรียนเราได้แสดงให้เห็นว่านักวิเคราะห์ทางเทคนิคใช้ข้อมูลด้านราคาและ ปริมาณในอดีตมาคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาในอนาคตได้อย่างไร


 บทความที่น่าสนใจ





 ร้านค้าออนไลน์แลกลิงค์โฉนดบ้านเว็บไซต์ รับออกแบบเว็บไซต์ ครบวงจรโปรทำนายเบอร์โทรศัพท์ฟรี!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น