วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

-> การอ่านกราฟ ตามทฤษฎีดาว (Dow Theory) และ อีลเลียต (Elliott Wave)

   แผนภูมิเส้น (Line chart) หรือ ที่บางคนเรียกว่ากราฟ เป็นเครื่องมือของการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่มีรูปแบบง่ายที่สุด และจะแสดงให้เห็นแนวโน้มหรือ ทิศทางของการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นที่เกิดขึ้นในอดีตได้อย่าง ชัดเจน
 ยินดีต้อนรับเข้าสู่สังคมการเทรด Forex

       แผนภูมิเส้น (Line chart) หรือ ที่บางคนเรียกว่ากราฟ เป็นเครื่องมือของการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่มีรูปแบบง่ายที่สุด และจะแสดงให้เห็นแนวโน้มหรือ ทิศทางของการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นที่เกิดขึ้นในอดีตได้อย่าง ชัดเจน
ราคาหุ้นที่ผ่านมา เคลื่อนไหวไปในทิศทางเช่นไร ในช่วงเวลาใด และในอัตราที่สูงชันแค่ไหน แผนภูมิเส้นจะบอกได้ โดยการนำราคาปิดของหุ้นแต่ละวันมาจุดบนกระดาษกราฟ แล้วลากเส้นต่อจุดเหล่านั้น
การอ่านแผนภูมิเส้น มีด้วยกัน 2 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีของดาว (Dow Theory) และทฤษฎีของอีลเลียต (Elliat Curve)

ทฤษฎีของดาว

        ไม่ได้บอกอะไรมากนัก เพียงแต่แนะนำให้นัก- เล่นหุ้นสังเกตการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาว่ามีรูปแบบ เช่นไร ระดับราคาได้รับอิทธิพลจากผลกระทบของเหตุการณ์ หรือข่าวในอดีตเพียงใด
ดาวได้แบ่ง แผนภูมิเส้นว่ามี 3 แนวโน้ม คือ ราคาหุ้นที่จุดลง ไปบนกระดาษกราฟเชื่อมต่อกันวันต่อวัน จะเห็นเป็นแนวโน้มย่อย และเมื่อดูการเชื่อมต่อจุดติดต่อกันเป็นระยะเวลา 1-3 เดือน จะเห็น เป็นแนวโน้มรอง และถ้าดูต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน 2-3 ปี จะ เห็นเป็นแนวโน้มใหญ่ ซึ่งแนวโน้มใหญ่ จะบอกว่าตลาดหุ้นอยู่ในภาวะ หมี (Bearish) หรืออยู่ในภาวะกระทิง (Bullish) กันแน่
แนวโน้มทฤษฏีดาว

ทฤษฎีของอีลลียต

       จะกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับราคา ที่เป็นผลลัพธ์จากอารมณ์ของผู้เล่นหุ้นที่มักจะหวั่นไหวอยู่เสมอใน รูปแบบเดียวกันซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นวงจร ซึ่งวงจรหนึ่ง ๆ จะประกอบ ด้วยคลื่นระลอกขึ้นใหญ่ และคลื่นระลอกลงใหญ่
ในภาวะกระทิง (Bull Market) ซึ่งเป็นภาวะที่หุ้นราคาสูงขึ้น ระลอกคลื่นขึ้นแบ่งเป็น 3 คลื่น แล้วก็จะถึงระลอกคลื่นลง หนึ่งคลื่น
ในภาวะหมี (Bear Market) ซึ่งเป็นภาวะที่หุ้นราคาลดลง จะกลับกัน คือระลอกคลื่นลงแบ่งเป็น 3 คลื่น แล้วก็จะถึงระลอกคลื่นขึ้นหนึ่งคลื่น
แน่นอน ในความเป็นจริงของภาวะราคาหุ้นในตลาดหุ้นจะไม่มี ทางที่จะเกิดรูปแบบแผนภูมิเส้นที่ชัดเจนอย่างที่ว่าไว้ ฉะนั้นในแต่ละ ระลอกคลื่นอาจมีคลื่นย่อย ๆ อีกหลายคลื่นก็ได้ แต่จะมีลักษณะ เหมือนระลอกคลื่นใหญ่
ทฤษฎีของอีลเลียตจะแสดงถึงอารมณ์ของนักเล่นหุ้น ที่สะท้อน ออกมาในรูปของการเปลี่ยนแปลงราคา คือ
      ในภาวะกระทิง ราคาขึ้นในระลอกคลื่นที่ 1 คนจะยังไม่มั่นใจ ว่าราคาจะขึ้นจริง จึงทำให้ระดับราคาลดลงไปที่ 2 แล้วราคาก็ขึ้นกลับไปเป็นระลอกคลื่นที่ 2 ด้วยความมั่นใจ ระลอกคลื่นลูกนี้มักจะมีระยะเวลายาวนาน แล้วก็ตกลงมาตามสภาพของการขายเก็บกำไร (Profit Taking) ราคาลงมาอยู่ที่ 4
ส่วนระลอกคลื่นที่ 3 เกิดจากความ โลภของนักเล่นหุ้นโดยไม่มีเหตุผลและข่าวสารใด ๆ เป็นแรงสนับสนุน ให้ราคาขึ้นต่อไปเลย คลื่นลูกนี้ อาจเป็นคลื่นเล็กๆแล้วสลายไป หรือ อาจเป็นคลื่นใหญ่อย่างที่คาดไม่ถึงก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าคนส่วนใหญ่ในยามนั้นเป็นคนที่มีความโลภแค่ไหนกันแน่ ฉะนั้นเมื่อถึงคลื่นที่ 3 แล้ว ราคาจะลดต่ำลงมากเป็นคลื่นในทางลง และราคาก็จะกลับขึ้นมาเล็กน้อย โดยที่ยังมีบางคนยังคงหลงมั่นใจกับสภาพตลาดหุ้นอยู่บ้าง แต่ระดับ ราคาก็กลับลดลงอย่างมากอีกครั้ง เพราะเกิดจากแรงตื่นตระหนกของนักเล่นหุ้น ที่เห็นว่าราคายังสูงเกินความเป็นจริง และไม่มีเหตุผล อันสมควรอยู่ดีตามทฤษฎีของอีลเลียต ก็ถือว่าครบวงจรพอดี และ ก็จะเริ่มวงจรใหม่ในท่านองเดียวกันอีก
อีเลียต bull market
ภาวะตลาดกระทิง ตามทฤษฏีอีลเลียต
       
       สำหรับในภาวะหมี ก็จะมีลักษณะเหมือนๆกัน คือ เมื่อราคาหุ้นที่ตกต่ำลงอย่างมาก จะเริ่มมีคนกลุ่มหนึ่งมีความเชื่อมั่นว่าราคาควรจะกลับขึ้นไป จึงมีแรงชื้อทำให้เกิดคลื่นระลอกแรกในทิศขึ้นเป็น a แต่ก็ต้องตกลงตามสภาพที่เป็นจริงที่ b
และแล้วก็มีความหลงผิด ของคนกลุ่มเก่าที่เชื่อว่าราคาหุ้นควรปรับตัวสูงขึ้น จึงซื้อหุ้นสวนทางตลาด จนทำให้ราคาหุ้นขึ้นไปที่ C จากนั้นราคาหุ้นก็มีอันต้องตกลงตามที่มันควรจะเป็น เกิดเป็นคลื่นในทิศทางลงลูกแรกที่ 1 และก็กระเด้ง ขึ้นเล็กน้อย
ต่อจากนั้นก็มีราคาตกต่อไปด้วยความมั่นใจของผู้ขายที่ เชื่อว่าเป็นภาวะหมี กลายเป็นคลื่นที่2 ส่วนคลื่นลูกสุดท้าย จะเป็นภาวะที่เกิดจากการตื่นตระหนกของนักเล่นหุ้น ซึ่งก็เช่นเดียวกัน ถ้ามีความตื่นตระหนกมาก อาจมีระดับราคาที่ต่ำมากและยาวนาน แต่ถ้ายังมีเหตุผลอยู่บ้าง หรือมีนักลงทุนที่เห็นว่าราคาตกต่ำจนคุ้มกับเงินปันผลก็จะเข้ามาชื้อเก็บไว้ ราคาก็จะตกลงเพียงเล็กน้อย และก็ถือว่าครบวงจร วงจรใหม่จะเริ่มขึ้นในทำนองเดียวกันอีก แต่ยังคงเป็นทิศทางลงเพราะเป็นภาวะหมี จะเปลี่ยนภาวะเป็นกระทิงได้ก็ ต้องมีปัจจัยพื้นฐานสนับสนุนในทางบวกสวนทางหมีได้
ภาวะตลาดหมี ตามทฤษฏีอีลเลียต

         สรุปแล้ว ทฤษฎีของดาว ก็ยังไม่บอกอะไรมากอยู่ดี บอกแต่ว่า เมื่อดูแผนภูมิเส้นในอดีตแล้ว จะเห็นเป็นแนวโน้มได้ 3 แบบ คือ
แนวโน้มใหญ่ แนวโน้มรอง และแนวโน้มย่อย อนาคตจะเป็นอย่างไร ไม่ได้บอกไว้ บอกแต่กว้าง ๆ ว่าน่าจะมีรูปแบบเช่นเดียวกับในอดีต ตัดตอนเอาเองก็แล้วกันว่าช่วงไหนเป็นแนวโน้มแบบไหน จะได้กะ ได้ถูก
สมัยก่อนราว 70ปี คนที่เชื่อทฤษฎีของดาวจึงต้องมีไม้บรรทัด รูปร่างพิลึกพิลั่น โค้งโน่นนิด เว้านี่หน่อย คอยโยงแนวโน้มของจุด แผนภูมิเส้นในอดีตดู แล้วเทียบเคียงกับปัจจุบันว่าควรจะมีแนวไป ในทิศทางใดเหมือนในอดีตช่วงใด แล้วก็ทึกทักเอาว่าต่อไปต้องเป็น อย่างนั้นอย่างนี้แน่ ๆ ซึ่งส่วนมากจะถูก เพราะถ้าเกิดผิดก็จะโทษ ตัวเองว่าลากเส้นแบบโง่ ๆ ความจริงต้องโค้งทางนี้มากกว่า เห็นไม๊ เพราะ เมื่อเวลาผ่านไปราคาจริง เกิดขึ้นแล้ว ก็จะปรับแนวโน้มให้มันตรง กับความเป็นจริง และหาเหตุผลมาอธิบายให้ได้ว่ามันเป็นจริง
เดี๋ยวนี้ เข้าใจว่าแทบจะไม่มีใครสนใจทฤษฎีของดาวแล้ว ซึ่งก็ น่าจะเป็นอย่างนั้นใช่ไหม? เพราะไม่ได้บอกอะไรเราเลย แต่อย่างว่า ถ้าไม่มีทฤษฎีของดาว ทฤษฎีของคนอื่นที่ดีกว่าก็อาจจะไม่เกิดขึ้น จึงต้องถือว่าดาว เป็นต้นแบบของการใช้กราฟ – ประกอบการวิเคราะห์ แนวโน้มของราคาหุ้น
ส่วนทฤษฎีของอีลเลียต ที่ได้แนวความคิดจากทฤษฎีของดาว ความจริงก็ไม่ได้บอกอะไรเท่าไหร่เหมือนกัน แต่ดูแล้วรู้สึกว่าจะอธิบาย ถึงเหตุและผลของอารมณ์ของนักเล่นหุ้นได้ถึงใจดีกว่า ตอนเกิดคลื่น ขึ้นลูกแรกด้วยความไม่ค่อยมั่นใจก็น่าจะมีเหตุผลสมจริง ตอนขึ้น คลื่นลูกที่สอง อธิบายได้ว่าขึ้นด้วยความมั่นใจก็มีเหตุผลดี ตอนขึ้น คลื่นลูกที่สาม ด้วยความโลภยิ่งถูกใจนักเล่นหุ้นใหญ่และก็ควรจะเป็นจริง แต่ตอนราคาลงด้วยความตื่นตระหนกนี่สิชักจะไมน่าเชื่อถือ
ทั้งที่นักเล่นหุ้นเองนั่นแหละที่ตะบี้ตะบันขายเอาขายเอา ทึ้งหุ้นที่มีอยู่ ทั้งหมดโดยไม่สนใจราคา แล้วยังปากแข็งว่าไม่ได้ตื่นตระหนกอีกรึ ก็ ไม่ชอบคำนี้นี่ครับ
ทฤษฎีของดาว และทฤษฎีของอีลเลียตรู้ไว้ก็ดี ถึงจะไม่ช่วยอะไรมากนักก็ตาม แต่ก็เตือนสตินักเล่นหุ้นได้ดีทีเดียวแหละว่า อย่าโลภและอย่าตื่นตระหนก จนเกินขอบเขตเป็นอันขาด

ที่มา : การเงินธนาคาร

บทความที่น่าสนใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น